ประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก รายละเอียด :
ความหมายและสัญลักษณ์ของ อถล. อถล. เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า ประชาชนที่มีจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ และอุทิศตน เพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ชื่อย่อว่า “อถล.” มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV” “เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า การเชื่อมโยงกันของ อถล. เพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือทํากิจกรรมร่วมกัน ในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันของบุคคล ภายใต้พื้นฐานการเคารพสิทธิและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการทํางานร่วมกัน โดยใช้ชื่อย่อว่า “เครือข่าย อถล.” และเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer Network” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV-Net"
ที่มา ของ อถล.
บทบาทและหน้าที่ อถล.
บทบาทของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
บทบาทและหน้าที่เทศบาล
(ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2561 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป)
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561
สาระสำคัญ
2. คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก อถล. และเครือข่าย อถล.
ตามระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
คุณสมบัติของ อถล.
ผู้ที่สนใจจะสมัคร ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
4. มีความสนใจและมีจิตอาสาเข้าร่วมดำเนินกิจกรรม
5. เป็นบุคคลที่มีความเสียสละและอุทิศตัวในการทำงานเพื่อส่วนร่วม
บทบาทและหน้าที่ ของ อถล.
1. ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
2. เฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแล และรายงานสถานการณ์การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ
3. สื่อสาร เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ
4. เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดขึ้น
5. ให้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ภาคเอกชน และเครือข่าย อถล. เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ
การรับสมัคร อถล.
1. ผู้ทีสนใจสมัครเป็น อถล. และมีคุณสมบัติตามข้อ 6 ให้ยื่นใบสมัคร ต่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามแบบ ที่กำหนด
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครและขึ้นทะเบียนการพิจารณาเป็น อถล.
3.บัตรประจำตัว อถล.ให้มีอายุ 5 ปี
การจัดตั้ง คณะกรรมการ
หน้าที่ของ คณะกรรมการ
1. จัดทำแผนปฏิบัติงาน
2. ดำเนินการตามแผนหรือนโยบายที่กำหนดไว้
3. รายงานผลการดำเนินงานให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทราบ พร้อมทั้งปิดประกาศให้ประชาชนทราบ
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
องค์กรปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่ ส่งเสริมและสนับสนุน อถล.
1 .ตรวจสอบคุณสมบัติ พิจารณารับลงทะเบียนผู้สมัครเป็น อถล. รวมถึงปรับปรุงข้อมูลทะเบียน
2. ทำบัตรประจำตัว อถล.
3. จัดปฐมนิเทศ ฝึกอบรม หรือประชุม สัมมนา อถล. เพื่อพัฒนา อถล.ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ส่งเสริม สนับสนุนในการจัดกิจกรรมของ อถล.
5. ติดตามผลการดำเนินการ